ด้วยเทรนด์ของทำเลศักยภาพ “บางนา” ในปัจจุบันที่พัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับความเจริญจากทางฝั่งสุขุมวิท ส่งผลให้เกิด Super Mega Project จำนวนมากทั้งในส่วนของทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ส่งผลให้มูลค่าที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ ในย่านบางนา พุ่งตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนี้
การลงทุนของภาคเอกชน
- THE BANGKOK MALL
Bangkok Mall อยู่หัวมุมแยกถนนบางนาตราดตัดกับถนนสุขุมวิทบนพื้นที่ 100 ไร่ มูลค่าโครงการรวม 50,000 ล้านบาท ถูกพัฒนาเป็นโครงการ Mixed use ขนาดใหญ่ในเครือเดอะมอลล์กรุป มาในคอนเซปต์ City within the City ภายในโครงการจะมีหลายอย่าง ได้แก่ตัวห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์, ฮอลล์แสดงคอนเสิร์ต Bangkok Arena ความจุ 16,000 ที่นั่ง, สวนสนุก, สวนน้ำ, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, อาคารที่พักอาศัย ปัจจุบันโครงการนี้ ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการได้ภายในปี พ.ศ. 2566
และจุดเด่นที่แปลกกว่าอื่นคือที่นี่จะทำเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออก พื้นที่ 7.5 ไร่ ประกอบไปด้วย ชานชาลาเทียบรถขนาดใหญ่และชานชาลาเทียบรถตู้ร่วมให้บริการ โดยมีแผนย้ายท่ารถตู้ร่วมให้บริการที่ตั้งอยู่ด้านหน้าโครงการ เข้ามารวมกับตัวสถานีขนส่งภายในโครงการ และพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร บริเวณชั้น G ของศูนย์การค้า โดยออกแบบและจัดทำในลักษณะเดียวกับโถงผู้โดยสารของสนามบิน
- 101 TRUE DIGITAL PARK
101 True Digital Park เป็นโครงการ mixed-use บนพื้นที่ขนาด 40,000 ตร.ม. มูลค่าโครงการอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ครบครันด้วยร้านอาหาร ร้านค้า บริการ สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่สำหรับออกกำลังกาย พื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจกว่า 5,000 ตารางเมตร พื้นที่สำหรับครอบครัวและสัตว์เลี้ยง ตลอดจนพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางสังคม ส่วนพื้นที่เช่าค้าปลีกของโครงการ 101 True Digital Park จะอยู่ที่ 20,000 ตร.ม.
ปัจจุบันโครงการสร้างเสร็จ เปิดใช้งานแทบทั้งหมดแล้ว และกำลังจะมีการพัฒนาที่ดินข้างๆ เป็น 101 True Digital Park phase2 เพิ่มเติมมาอีก บนเนื้อที่ 17 ไร่ จากทั้งหมด 43 ไร่ อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการพัฒนา เบื้องต้นจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกับเฟสแรกที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน โดยที่พื้นที่ส่วนใหญ่ในเฟสที่ 2 จะเป็นออฟฟิศรูปแบบดิจิทัลฮับที่เจาะกลุ่มผู้เช่าสตาร์ทอัพ Venture capital บริษัทต่างชาติ และหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น
- AIA EAST GATEWAY
AIA East Gateway อาคารสำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าระดับพรีเมียมแห่งใหม่ที่ออกแบบเพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีล่าสุดบนถนนบางนา-ตราด กม. 4.5 เป็นอาคารระดับพรีเมียมเกรด A มีความสูง 33 ชั้น เพดานสูง 3 เมตร ด้วยพื้นที่ใช้สอยมากถึง 70,000 ตารางเมตร บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ สะดวกด้วยที่จอดรถมากกว่า 1,500 คัน พร้อมด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้สอยอาคาร เน้นความสำคัญในด้านสุขภาพและไลฟ์สไตล์ของผู้เช่าตามเกณฑ์มาตรฐานของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และ WELL Building Standard ระดับโกลด์ สอดคล้องตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ “Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น”
- WHA BANGNA BUSINESS COMPLEX
WHA BANGNA BUSINESS COMPLEX ถูกพัฒนาภายใต้โครงการ WHA Office Solutions ของบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป พร้อมตอบโจทย์และความต้องการขององค์กรและธุรกิจต่างๆ ที่หันมาให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มอบทางเลือกใหม่สำหรับการเช่าพื้นที่สำนักงาน โดยพัฒนาให้เป็น อาคารพาณิชย์ให้เช่า ขนาด 10,000 ตร.ม. บนถนนบางนา-ตราด กม. 7 รองรับการปรับขนาดออฟฟิศอย่างยืดหยุ่น โดยพร้อมให้บริการเช่าพื้นที่แล้วในชั้น 6 และ 7
- MEGA CITY BANGNA
เมกาบางนา หลายๆ คนน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว จากการที่เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่แถมยังมี IKEA สาขาแรกมาเปิดที่นี่ด้วย นับมาถึงปัจจุบันห้างนี้ก็เปิดมาได้ประมาณ 5-6 ปีแล้ว ถ้าใครที่ไปวันเสาร์อาทิตย์จะเห็นได้ว่ารถแน่นมาก คนมาเยอะมาก
ล่าสุดเมกาบางนาจึงเริ่มขยายโดยใช้พื้นที่รอบข้างของห้างเดิม เป็นเฟสใหม่ที่เปลี่ยนเมกาบางนาจากการเป็นแค่ศูนย์การค้า ให้เป็น “เมกาซิตี้” รวมเอาโซนที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน, โรงเรียน และ โรงแรมเข้ามาอยู่ด้วย โดยในส่วนต่อขยายเฟสแรกที่เริ่มทำแล้วจะเป็นในส่วนของโซน Mega Food Walk ที่เป็นอาคารใหม่รวมร้านอาหาร และมีอาคารจอดรถใหม่สูงถึง 7 ชั้นอีกด้วย มีพื้นที่รวม 400 ไร่ มูลค่าโครงการรวม 67,000 ล้านบาท
การลงทุนของภาครัฐ
- SUVARNABHUMI AIRPORT PHASE 2
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้อยู่ในแผนที่ 2 ในส่วนโครงการพัฒนาส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ วงเงิน 42,000 ล้านบาท ขณะนี้การก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียด จะเปิดประมูลภายในปี 2565 และดำเนินการก่อสร้างในปี 2565 คาดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2567 สามารถรองรับผู้โดยสารจากเดิม 30 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 60 ล้านคนต่อปี และรองรับเครื่องบินได้ 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ขณะที่การก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันตก จะใช้ระยะเวลาออกแบบ 10 เดือน คาดเปิดประมูลภายในปลายปี 2565
- อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ในอนาคตทั้งอาคารจะมี4 ชั้น พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 216,000 ตารางเมตร และร้านค้า 20,000 ตร.ม. งบประมาณลงทุน 14,235 ล้านบาท
- ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ประกอบด้วยหลุมจอดเครื่องบินจำนวน 28 หลุม ตั้งอยู่ประชิดอาคารสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ รองรับเครื่องบินขนาดแอร์บัส A–380 จำนวน8 หลุมจอด และเครื่องบินขนาดโบอิ้ง B-747 จำนวน 20 หลุมจอด รวมพื้นที่ 960,000 ตารางเมตร งบประมาณ 12,050 ล้านบาท
- อุโมงค์เชื่อมต่อด้านทิศใต้ และระบบขนส่งผู้โดยสารเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับผู้โดยสารที่จะใช้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรอง
- อาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก วงเงิน 970 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกประกาศทีโออาร์ประมูล จะเริ่มก่อสร้างในเดือน พ.ค.นี้ ตามแผนจะเสร็จในเดือน พ.ย. 2563
- LRT Bangna – Suvarnabhumi
LRT Bangna – Suvarnabhumi เป็นโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิ มีจำนวน 14 สถานีเชื่อมต่อการเดินทางกรุงเทพฯ กับจ.สมุทรปราการ โดยเป็น 2 เฟสเริ่มจากเฟส 1 ช่วงแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร, เฟส 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร โดยรูปแบบของสถานีแบ่งการออกแบบเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภท A สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาเดี่ยว มีจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีประภามนตรี สถานีบางนา-ตราด 7 สถานีศรีเอี่ยม สถานีบางนา-ตราด 6 สถานีบาง แก้ว สถานีบางสลุด สถานีกิ่งแก้วสถานีมหาวิทยาลัยเกริก สถานีสุวรรณภูมิใต้
สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการในปี 2572 จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการประมาณ 80,000- 100,000คน ต่อเที่ยวต่อวัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 113,979 คนต่อเที่ยวต่อวัน และในปี 2578 กรณี บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) เปิดให้บริการท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 138,984 คน-เที่ยวต่อวัน โดยมีมูลค่ารวมของโครงการที่ 27,000 ล้านบาท
- High Speed Train ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา เป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่รัฐหมายมั่นปั้นมือให้เป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อสร้างประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การพัฒนาเมือง และระบบโครงสร้างพื้นฐาน
โดยมีมูลค่าลงทุน 224,544.36 ล้านบาท แบ่งเป็นระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา 168,718 ล้านบาท การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 45,155.27 ล้านบาท และสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671.09 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 50 ปี คาดว่าจะการก่อสร้างเสร็จปี 2566–2567 ปริมาณผู้โดยสาร 147,200 คนต่อเที่ยวต่อวัน
.
𝐎𝐫𝐢𝐠𝐢𝐧 𝐒𝐦𝐚𝐫𝐭 𝐂𝐨𝐦𝐩𝐥𝐞𝐱 𝐁𝐚𝐧𝐠𝐧𝐚