เปิดที่มาความน่าสนใจเเละอนาคตการ ลงทุนใน EEC
พร้อมย้อนอดีต กว่าจะมาเป็น “EEC” เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ช่วงนี้เหล่านักลงทุนอาจจะกำลังสนใจ ลงทุนใน EEC เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพราะพื้นที่เเห่งนี้กำลังเติบโตเเละเป็นที่หมายตาสำหรับนักลงทุน หลายๆคนคงคุ้นเคยกับคำว่า EEC เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เเต่ยังไม่ทราบที่มาเเละความสำคัญว่า EEC สำคัญอย่างไร วันนี้เรามาย้อนอดีตดูความเป็นมาของเขตเศรษฐกิจพิเศษ เเละ ความสำคัญของเขตเศรษฐกิจนี้กัน พร้อมวิเคราะห์อนาคตการลงทุนใน EEC
EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรียกได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งเดียวในการพัฒนาประเทศเป็นทางออกสู่อนาคตของประเทศไทย ในอนาคต EEC จะกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ที่มีรากฐานโดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นที่เเข็งเเกร่ง ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึกเเหลมฉบัง ท่าเรือมาบตพุด ที่กำลังจะกลายเป็นเเหล่งถ่ายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดเเห่งหนึ่งของโลก , รถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เชื่อม 3 สนามบิน, รถไฟฟ้าทางคู่, มอเตอร์เวย์, สนามบินใหม่ ที่จะเข้ามารองรับการเติบโตของการขนส่ง เเละ การพาณิชยกรรม ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน EEC อีกไม่นานนี้
วันนี้เราขอย้อนอดีต EEC (Eastern Economic Corridor) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ว่ากว่าจะมาเป็น EEC ยุทธศาสตร์หนึ่งเดียวในการพัฒนาประเทศ ทุกวันนี้ EEC เมืองชายฝั่งภาคตะวันออกจะ มีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง ไปย้อนเวลาหาคำตอบกัน
คงนึกไม่ถึงว่า ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยในอดีตนั้น มีเพียงหมู่บ้านชาวประมงริมทะเลเท่านั้น ส่วนพื้นที่ภายในจะเป็นป่าเขา แม้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็แค่กล่าวถึงบ้านบางทราย และบางปลาสร้อยเท่านั้น ต่อมาถึงจะมีการสถาปนา บางทราย เป็นเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร มีเหตุการณ์บันทึกว่า เมื่อออกเมืองชลบุรี ได้ยกพลทั้งหมดไปช่วย อยุธยาต่อต้านพม่า
ครั้นเมื่อกองทัพพม่าเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ ทัพของพระเจ้าตากฯ จำต้องยกทัพผ่านชลบุรี อันเป็นที่มาของชื่อที่ตั้งทัพพระยา ที่ต่อมาแปรเปลี่ยนเป็น พัทยา ในปัจจุบัน
ในรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ หมอบรัดเลย์มีบันทึกเรื่องราวอยู่บ้างเกี่ยวกับบางปลาสร้อย อ่างศิลา และเขาเขียว และในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบันทึกการเสด็จประพาสทางชลมารคไปเกาะสีชังทรงแวะประทับที่อ่างหินหรืออ่างศิลา
ระหว่างปฏิบัติภารกิจ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พบว่า ในพื้นที่ป่าเขานั้น เต็มไปด้วยไม้กระยาเลย ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ จึงได้ก่อตั้งบริษัทศรีมหาราชา ขึ้นในปี พ.ศ.2440
และในปี พ.ศ.2451 ก็ได้รับสัมปทานทำไม้ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณว่าเท่ากับอำเภอเมืองชลบุรี ศรีราชา และบางละมุง ในปัจจุบันรวมกัน
สิ่งที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือการก่อสร้างถนนสุขุมวิท ในปี พ.ศ.2493 ทำให้รถยนต์สามารถวิ่งเลียบแนวชายฝั่ง จากกรุงเทพฯ ไปจนถึงหาดเล็ก ในจังหวัดตราดได้
ทางหลวงหมายเลข 3 นี้ นอกจากจะนำพาให้ผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐาน ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกมากขึ้นแล้ว ชายหาดที่สวยงามตั้งแต่บางแสน ชลบุรี ไปจนถึงหาดแม่รำพึง ระยอง ได้กลายเป็นสถานตากอากาศยอดนิยมของคนไทยแทนที่หัวหิน สถานที่ตากอากาศแห่งแรกของไทย ที่อยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตก
ระหว่างสงครามเวียดนาม มีการตัดทางหลวง 304 เพื่อเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ เชื่อมระหว่างท่าเรือและสนามบินอู่ตะเภา กับฐานทัพอเมริกันในโคราช ทำให้ภาคตะวันออกกับภาคอีสาน เชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องเดินทางผ่านกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ชายหาดพัทยายังถูกเลือกให้เป็นที่พักระหว่างรบของทหารอเมริกัน ทำให้มีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ นับแต่นั้นมา
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด สำหรับชุมชนในภาคตะวันออก กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำบางพระ ที่มีความจุถึง 110 ล้านลูกบาศก์เมตร
รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่โดยรอบ เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ในปี พ.ศ.2515
รวมทั้งประกาศให้พื้นที่เขาเขียวและเขาชมพู่ เนื้อที่อีกเกือบแสนไร่ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในปี พ.ศ.2519
ความที่เล่ามาทั้งหมด เป็นสภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ในยุคโชติช่วงชัชวาล เมื่อรัฐบาลประกาศ โครงการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด ที่เป็นต้นทางของอีอีซีในตอนนี้
EEC ในปัจจุบันเเละอนาคตจะเป็นอย่างไร
EEC ประกอบไปด้วยพื้นที่บริเวณ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เเละ ด้านการท่องเที่ยว รวมถึงยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม บุคลากร การศึกษา การวิจัย
เป้าหมาย EEC คือการเป็นต้นเเบบ การพัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ โดยมุ่งเน้นทั้งการปรับโครงการสร้างในประเทศ การยกระดับบทบาทของไทยในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยเเละโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล , การส่งเสริมเเละสนับสนุนการพัฒนาเเละลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย , การยกระดับคุณภาพชีวิตเเละการพัฒนาเมืองที่ทันสมัย รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ , การพัฒนาที่ครอบคลุมไปถึงการศึกษา การดูเเลสุขภาพสิ่งเเวดล้อม สาธารณูปโภคพื้นฐานเเละการพัฒนาชุมชน
มูลค่าการลงทุนทั้งในปัจจุบันเเละอนาคตของ EEC จะอยู่ที่ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท โดยเงินลงทุนจะไปอยู่ที่การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา 200,000 ล้านบาท, การพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา 350,000 ล้านบาท, การพัฒนาเมืองใหม่ 400,000 ล้านบาท, การพัฒนาท่าเรือ มาบตพุด ระยะที่ 3 จำนวน 11,100 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 200,000 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 200,000 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าทางคู่ 64,300 ล้านบาท, การพัฒนาการท่องเที่ยว 200,000 ล้านบาท, การลงทุน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย, โครงการก่อสร้าง ทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง 35,300 ล้านบาท
โอกาสเเห่งการลงทุนเกิดขึ้นที่นี่ EEC
ในอนาคต EEC จะกลายเป็นเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานเเละการคมนาคม ครบครันที่สุดในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางโดยเรือ การโดยสารทางอากาศ เเละทางบก ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนาดใหญ่ที่หากสร้างเสร็จครบทุกการเดินทาง จะทำให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนในธุรกิจเเละอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC อีกเป็นมูลค่ามหาศาล โดยโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่
ท่าเรือนำ้ลึกเเหลมฉบัง ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่บริเวณอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีความลึกถึง 18.5 เมตร จากระดับน้ำทะเล กว้าง 920 เมตร ปัจจุบันเป็นท่าเรืออันดับที่ 22 ของโลก ซึ่งการลงทุนครั้งนี้จะทำให้ท่าเรือเเหลมฉบัง จะกลายเป็นหนึ่งในท่าเรือที่รองรับเรือใหญ่ที่สุดในโลก จะกลายเป็นท่าเรือที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เพราะมี Capacity ที่ใหญ่มาก หากเทียบเป็น Capacity กับ ตู้ Container ท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้สามารถรองรับการการขนส่งสินค้าได้เทียบเท่ากับ Container 18 ล้านตู้ ต่อปีเลยทีเดียว ในอนาคตท่าเรือเเหลมฉบังจะไม่ใช้เเค่การขนสินค้านำเข้า – ส่งออก เท่านั้น เเต่ยังเป็น Transshipment เหมือนสิงคโปร์ คือจะสามารถเปลี่ยนถ่ายสินค้าสำหรับเรือที่ต้องการขนส่งสินค้าไปทั่วโลกมากมาย เเละจะทำให้การลงทุนเกิดขึ้นบริเวณท่าเรือตามมาอีกมากมาย
ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตพุด ระยะที่ 3 เพิ่มความจุในการขนถ่ายก๊าสธรรมชาติ เเละ วัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นท่าเรือที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นท่าเรือที่สำราญที่ทันสมัย ได้มาตรฐานระดับโลก สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเรือเเละการประกอบเเท่นขุดเจาะน้ำมัน
รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน เชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ เเละอู่ตะเภาะ ซึ่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงนี้จะสามารถร่นระยะเวลาการเดินทาง เเละประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ระยะทางร่วม 220 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากสุวรรณภูมิมาถึงจังหวัดระยองเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
รถไฟฟ้าทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ จะเป็นระบบขนส่งหลักที่เชื่อมต่อเขตอุตสาหกรรมทั่วประเทศไปยังท่าเรือหลัก 3 แห่ง
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15-30-60 ล้านคนต่อปี อีกทั้งยังมี TG MRO Campus เป็นศูนย์กลางที่ทันสมัย สำหรับซ่อมบำรุงอากาศยานที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคนี้
นอกจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมที่ครบครันที่สุดในประเทศเเล้ว EEC ยังมุ่งเน้นในเรื่องการเป็นเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษ เขตเทคโนโลยี เเละเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายอีกด้วย
เขตพัฒนาพิเศษ ด้านเทคโนโลยี ได้แก่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEci) เป็นการส่งเสริมการลงทุนวิจัย เเละนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนเตรียมกำลังคนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศด้วยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน เเละสถาบันการศึกษา บนพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ของวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง
เเละเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเเละนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) มุ่งเน้นเป็นศูนย์กลางการลงทุนเเละพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล “Digital Park Thailand” บนพื้นที่กว่า 700 ไร่ ในอ. ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย สู่การเป็น Digital Innovation Hub ของอาเซียน ซึ่งพื้นที่เเห่งนี้จะมีกลุ่มธุรกิจที่มี Potential ระดับโลกเข้ามาตั้งบริษัทในพื้นที่นี้ เช่น Microsoft, Huawei, Google Cloud, Amazon, FedEx, DHL
เขตส่งเสริมการเเพทย์ครบวงจร (EEC MD) ศูนย์กลางของกิจกรรมส่งเสริมด้านนวัตกรรม การวิจัยเเละพัฒนาศูนย์นวัตกรรมทางการเเพทย์ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ที่มีพื้นที่สถาบันวิจัยทางการแพทย์ชั้นสูง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์
อนาคตการลงทุนรูปเเบบใหม่ที่ “EEC”
การลงทุนในเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะทำให้มีการหลั่งไหลเข้ามาของคนวัยทำงานเเละการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในย่าน EEC รวมถึง ศรีราชาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยจากการรวบรวมสถิติของคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการเเรงงานสูงถึง 475,668 คน โดยความต้องการจ้างงานในชลบุรีมีถึง 55% คิดเป็น 261,618 คน เเละจากการคาดการณ์จำนวนประชากรชาวต่างชาติในศรีราชา หลังจากที่รถไฟฟ้าความเร็วสูงสร้างเสร็จ จะมีประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 33% เลยทีเดียว (ข้อมูลจากคมชัดลึก)
เเน่นอนว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตคือ “ที่อยู่อาศัย” เมื่อมีการโยกย้ายเข้ามาทำงานหรือตั้งถิ่นฐาน ทุกคมย่อมต้องมองหาที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อระยะยาวหรือการเช่า ดังนั้นเป็นโอกาสเเละจังหวะที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในทำเล EEC นี้อย่างเเท้จริง
สำหรับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC จะมีความเเตกต่างจากการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เรียกว่าการลงทุนเเบบ “Investment Property” ซึ่งเป็นโมเดลการลงทุนเพื่อสร้าง Recurring Income ผลตอบเเทนที่ยั่งยืนเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับผลตอบเเทน ด้วยการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารอสังหาริมทรัพย์อย่างครบวงจร มาดูเเลทรัพย์สินทรัพย์เเละผลตอบเเทนให้ผู้ลงทุน โดนที่ผู้ลงทุนไม่ต้องเสียเวลานั่นบริหารผลตอบแทนด้วยตัวเอง เเละเป็นรูปเเบบการลงทุนที่นักลงทุนไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงสูง เเละได้รับผลตอบเเทนอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับใครที่สนใจ ลงทุน ใน EEC สามารถอ่านบทความด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์รูปเเบบใหม่ “Investment property” ที่กำลังเป็นกระเเสนิยมอยู่ตอนนี้ สามารถอ่านต่อได้ที่ คลิก Serviced Residences Investment Program
เตรียมพบกับมิติใหม่..การลงทุนแห่งปี รับผลกำไรตอบเเทนสูงสุด 5-9% ต่อปี | ยาวต่อเนื่อง 10 ปี*
ครั้งแรก 𝐎𝐫𝐢𝐠𝐢𝐧 𝐩𝐫𝐨𝐩𝐞𝐫𝐭𝐲 𝐱 𝐃𝐮𝐬𝐢𝐭 𝐓𝐡𝐚𝐧𝐢
‘’𝐓𝐡𝐞 𝐇𝐚𝐦𝐩𝐭𝐨𝐧 𝐒𝐮𝐢𝐭𝐞𝐬’’ 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞𝐝 𝐑𝐞𝐬𝐢𝐝𝐞𝐧𝐜𝐞𝐬
มาตราฐานโรงแรม 𝟓 ดาว เริ่ม 𝟑.𝐱𝐱 ล้าน*
พบกันที่ 𝐒𝐭𝐚𝐲𝐛𝐫𝐢𝐝𝐠𝐞 𝐒𝐮𝐢𝐭𝐞𝐬 ทองหล่อ 𝟓
‘’𝐏𝐚𝐫𝐤 𝐈𝐧𝐯𝐞𝐬𝐭𝐦𝐞𝐧𝐭 𝐏𝐫𝐨𝐩𝐞𝐫𝐭𝐲 𝐂𝐥𝐮𝐛’’
ลงทะเบียนนัดหมายเข้าชม https://bit.ly/2YpuT5F
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.0982499955
หรือ ADD LINE : @park.ipclub คลิก http://bit.ly/3snX16K